ไว้บันทึกเรื่องราวรอบๆตัว

วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ข้อสังเกตุ "ตอซังและฟางข้าว" กับการปั่นฟางสด

 ชาวนาวันหยุด

ไม่ต้องเชื่อ จนกว่า จะได้พิสูจน์ด้วยตัวคุณเอง ให้เหมาะกับบริบท 
เปรียบเทียบ ในพื้นที่แปลงต่อแปลง เพื่อหาข้อสรุป บทเรียนรู้

ข้อสังเกตุ "ตอซังและฟางข้าว" กับการปั่นฟางสด 

1.โดยธรรมชาติของฟางข้าว และตอซัง เป็นเส้นยาวๆ จุลินทรีย์จะย่อยสลายยาก และช้า จึงต้องทำให้ขาดเป็นท่อนๆ จะช่วยให้การย่อยสลายได้ไว โดยไม่ต้องใช้ สารใดๆช่วย ทั้งสิ้น

2.สภาพที่เหมาะสมสำหรับการทำงานของจุลินทรีย์ คือ ต้องมีออกซิเจน ดังนั้น ห้ามปล่อยน้ำท่วมขังแปลงนาหลังการเก็บเกี่ยว ถ้าแช่ขังจะทำให้ฟางเหนียว (อุปมาเหมือนเชือกกล้วย เอาไปแช่น้ำ) และย่อยสลายช้า

3. “การปั่นฟางสด” ทำได้โดย กระจายฟาง ด้วยรถเกียวนวดข้าว ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยว และปล่อยน้ำเข้านา แค่พอให้ดินชุ่ม อย่าให้ฟางลอย

4.รถแทรกเตอร์ ติดจอบหมุน ปั่นตัดทางรถเกี่ยว ปั่นด้วยเกียร์ PTO 1- 540 รอบ ต่อนาที จะได้ในเรื่องของแรงบิด ของใบมีด จะช่วยคลุกเคล้า ตอซังฟางข้าว กับดิน ได้ ถ้ามีน้ำมากฟางลอย จะไปต้านการทำงานของจอบหมุน สภาพดินที่ไม่เละเหลวจนเกินไป จะช่วย ให้รถแทรกเตอร์ เคลื่อนตัวได้ง่าย ไม่ติดหลม

5.ฟางข้าวหลังเก็บเกียวใหม่ จะยังสด กรอบ ไม่เหนียว จะปั่นง่าย ไม่ฟันแกนเพลาน จอบหมุน

6. ถ้าต้องรีบทำนา หนีน้ำท่วม ก็สามารถ เติมน้ำเข้านา พอขลุกขลิก ใช้แทรกเตอร์ ติดจอบหมุน วิ่ง ตัดทาง รอบแรก ปั่นด้วย PTO2-750 รอบต่อนาที ปิดฝาท้ายลูบ พร้อมปักดำ ได้ทันที พื้นที่นาจะเรียบเสมอ
ไม่ต้องลูบด้วยรถไถนาเดินตาม ไม่ต้องปล่อยน้ำทิ้ง ลงคูหรือลำเหมือง เป็นการเก็บปุ๋ยและธาตุอาหารไว้ในแปลงนา

7.ถ้าไม่รีบ หรือเร่งรอบการผลิต พักนา 7-14 วัน ไม่ต้องแช่หมัก ปล่อยให้ข้าวเรื้อ หรือลูกหญ้า ข้าวดีด ข้าวเด้ง งอก ก่อน เติมน้ำ 1 ฝ่ามือ จะใช้แทรกเตอร์ ทำเหมือนข้อ 6

8.วิธีการนี้จะช่วย ประหยัดตั้งแต่ การสูบน้ำเข้านา ใช้น้ำมันน้อยลง ประหยัดพลังงาน และเวลา ในการเตรียมดิน ลดการสึกหรอ ของรถแทรกเตอร์ ไม่ต้องลุยหล่ม ลดการเผาตอซังฟางข้าว ลดค่าใช้จ่ายไม่ต้องซื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังที่ทำขายเป็นซองๆ แปลงนาไม่สูญเสียธาตุอาหาร จากการปล่อยน้ำเลน ทิ้งลงเหมือง เรื่องนี้เจ้าของนา ได้กับได้ ครับ รวมถึงปุ๋ยอินทรีย์อีกไร่ละ 700-1000 กก./ไร่ จากตอซังฟางข้าว

9.ข้าวปักดำไม่เมาตอซัง เพราะ จุลินทรีย์ใช้ออกซิเจนย่อยสลายตอซังฟางข้าว ได้ต่อเนื่อง ดังนั้นจึงไม่มีแก๊สมีเทน ต้นข้าวโตไว รากสมบูรณ์
ซึ่ง “การปั่นฟางสด” หลังการเก็บเกี่ยว นี้ ชาวนามืออาชีพ อย่างคุณ สนุ่น สมีเพชร จาก อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ ได้ทำมาเป็นเวลา 2 ปีพร้อมกับส่งเสริมเพื่อนบ้าน ควบคู่กับ “ระบบผลิตเปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว” ยืนยัน ว่าข้าวไม่เมาตอซัง ลดต้นทุน ค่าน้ำมัน ค่าปุ๋ย ค่าสารเคมี ต้นข้าวแข็งแรง เพิ่มผลผลิต จากเดิม 800 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 1000 กิโลกรัม ต่อไร่ ได้ แน่นอนครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น